ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัย |
|
ปรัชญา |
|
วิสัยทัศน์ |
สถานศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเกษตรแนวใหม่ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2559) |
ปณิธาน |
|
พันธกิจ |
2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และงานฟาร์มที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน 3. ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพเกษตร เพื่อ เพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการอาชีวเกษตรสู่ความเป็นสถานศึกษาธรรมภิบาล
|
อัตลักษณ์ |
อดทน หมายถึง ความสามารถทางร่างกาย ความคิด จิตใจ ที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค มีความเข้มแข็ง พยายามเอาชนะปัญหาอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ มีจิตใจหนักแน่น สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เป็นปกติเมื่อพบกับปัญหาหรือสิ่งยั่วยุต่าง ๆ
มุ่งมั่น หมายถึง
ความตั้งใจล้นเปี่ยมในการทำสิ่งใด
ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จให้จงได้ ไม่ว่าจะต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ
และกำลังสติปัญญามากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาสักเท่าใด
ไม่ว่าจะยากสักปานใด ก็จะไม่ย่อท้อโดยเด็ดขาด
พลังแห่งความมุ่งมั่นจะแสดงตัวออกมาภายนอกผ่านพฤติกรรมการมีมานะพยายาม
ความบากบั่นหมั่นเพียร ความอดทนต่อความเหนื่อยล้า และความ
กล้าหาญต่อการฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานใด
ๆ ทุกอย่างให้บรรลุเป้าหมาย |
เอกลักษณ์ |
ข้าวสังข์หยดพัทลุงอินทรีย์
หมายถึง ผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมือง สังข์หยดพัทลุง
ที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์
โดยใช้ถั่วปุ๋ยพืชสดเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทดแทนปุ๋ยเคมี
ผลผลิตที่ได้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ภายใต้ตราสัญลักษณ์การค้า
R
อารมณ์ดี เช่น ข้าวสาร ข้าวกล้องงอกสังข์หยดพัทลุง
โยเกิร์ตสดข้าวกล้องงอกสังข์หยดพัทลุง
เป็นต้น |
เป้าหมาย |
1) ผลิตกำลังคนระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ด้านวิชาชีพ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2) เปิดสอนหลากหลายสาขาวิชาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและชุมชน 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำวิจัยในชั้นเรียนและวิจัยที่สอดคล้องสาขาวิชาชีพ 4) สร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 5) พัฒนาศูนย์วิทยบริการ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการให้เหมาะสม ทันสมัย และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน 6) พัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน 7) พัฒนาระบบมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาวิชาชีพ 8) สร้างระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดการวิชาชีพที่เปิดสอน |
จุดแข็ง 1. สภาพพื้นที่ของวิทยาลัยมีศักยภาพทั้งด้านขนาดของพื้นที่และที่ตั้งที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินการด้านการเกษตรและประมง และมีเพียงพอต่อการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตร 2. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถประสบการณ์และมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาชีพ 3. มีระบบการดูแลผู้เรียนตามโครงการปฏิรูปเกษตรเพื่อชีวิต 4. เป็นสถานศึกษาเฉพาะทางด้านการเกษตรเพียงแห่งเดียวในจังหวัดพัทลุง 5. มีระบบการเรียนการสอนที่หลากหลายที่เพิ่มโอกาสทางการศึกษาเกษตรอย่างต่อเนื่องทั่วถึง สามารถจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน หลายกลุ่มได้แก่ ระบบปกติทวิภาคี อศ.กช. ทวิศึกษา หลักสูตรระยะสั้นผู้ด้อยโอกาส 6. มีสภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ 7. เน้นจัดการเรียนการสอนโดยการปฏิบัติจริง 8. มีความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ 9. วิทยาลัยมีศักยภาพในการจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีด้านการเกษตร รองรับความต้องการพัฒนาของประชาชน
จุดอ่อน 1. งบประมาณในการบริหารจัดการไม่เพียงพอ 2. การบริหารจัดการศึกษาไม่ได้นำหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินงานสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 3. ครุภัณฑ์การศึกษาขาดการดูแลรักษาทำให้เสื่อมสภาพ ไม่เพียงพอ และไม่ทันสมัย 4. ห้องเรียนรู้ ห้องปฏิบัติงาน และอาคารปฏิบัติการส่วนใหญ่มีสภาพเสื่อมโทรม 5. ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางวิชาการค่อนข้างต่ำ 6. ผู้เรียนขาดเป้าหมายและความมุ่งมั่นในการศึกษา และมีปัญหาครอบครัว 7. ครูและบุคลากรทางการศึกษาลดน้อยลง 8. งานฟาร์มไม่ได้มาตรฐานในการเป็นต้นแบบ 9. ครูมีภาระงานธุรการนอกเหนืองานสอนมาก
โอกาส 1. มีสถานประกอบการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวเกษตร กับวิทยาลัยอย่างเข็มแข็ง 2. มีสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาวิทยาลัยอย่างเข้มแข็ง 3. นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสนับสนุนและ มีความสอดคล้องกับอาชีวศึกษาเกษตร 4. ประชาชนในจังหวัดพัทลุงและใกล้เคียงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตร
อุปสรรค 1. ค่านิยมของผู้ปกครองที่สนับสนุน ในการเข้าศึกษาต่อในอาชีวเกษตรลดลง 2. เยาวชนไม่นิยมเข้าศึกษาด้านอาชีวเกษตร 3. ความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการและหน่วยงานรัฐด้านการเกษตรมีน้อย
|
สีประจำวิทยาลัย |
เขียว ขาว เหลือง |
|