ต้องการทราบข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม ของจังหวัดพัทลุงในภาพรวมทั้งจังหวัด
  โปรดคลิกเมนูด้านซ้ายมือ

สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม  (ของ ต. ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง)

 

     วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพั่ทลุง ตั้งอยู่ที่หมู่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง มีสภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม ดังต่อไปนี้

     1)  สภาพชุมชน 

         ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ทั้งหมด 28,168.75 ไร่  หรือ 45.07  ตารางกิโลเมตร      ทิศเหนือติดต่อกับตำบลคูหาสวรรค์  อำเภอเมืองพัทลุง  ทิศใต้ติดต่อกับตำบลหานโพธิ์  อำเภอเขาชัยสน   ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลลำปำ  อำเภอเมือพัทลุง   และทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลตำนาน  อำเภอเมืองพัทลุง   ลักษณะภูมิอากาศของตำบลควนมะพร้าว จะมี ลมมรสุมประจำปีพัดผ่าน  2  ชนิด  คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้ดินฟ้าอากาศของตำบลควนมะพร้าว มี  2  ฤดูกาล คือ  ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนกรกฎาคม ของทุกปี  และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาค-มกราคม  จะมีฝนตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม–ธันวาคม และจะมีฝนตกชุกที่สุด ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  ฉะนั้นจึงมีฤดูกาลทำนาในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี  โดยเกษตรกรเริ่มทำการเตรียมดินและตกกล้าโดยใช้น้ำฝน  มีการปักดำในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี  และทำการเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนมกราคม–เดือนกุมภาพันธ์  มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบรวม 16 หมู่บ้าน 

    2)  สภาพเศรษฐกิจ

         การเกษตรกรรม  โดยมีพื้นที่การเกษตรกรรมทั้งหมด 22,518 ไร่ เป็นพื้นที่นาข้าว 17,095 ไร่  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ ข้าว  พืชไร่ และไม้ผล   การปศุสัตว์ส่วนใหญ่เลี้ยงโคและสุกร มากที่สุด  ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่น ๆ        การประมงพบว่าจะเป็นการทำกันในบ่อเพาะเลี้ยงและตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
        ด้านการท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  2 แห่ง  และยังมีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  ได้แก่ งานประเพณีเดือนสิบ (แห่หมรับ) ณ วัดบ้านสวน ตำบลควนมะพร้าว และประเพณีรับขวัญแม่โพสพ หมู่ที่ 10  ตำบล      ควนมะพร้าว  อำเภอเมืองพัทลุง  จังหวัดพัทลุง

    3)  สภาพสังคม

         องค์การบริหารส่วนตำบลควนมะพร้าว มีการบริหารจัดการโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา  ประชาชนนับถือศาสนาพุทธทั้งตำบล  มีวัด  จำนวน  5  แห่ง  ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ  งานประเพณีเดือนสิบ (แห่หมรับ) จะจัดในวันแรม  15  ค่ำ เดือน 10  ของทุกปี  และงานรับขวัญแม่แม่โพสพ  จัดในเดือนเมษายนของทุกปี   มีการจัดการแข่งขันกีฬาประจำปีทุกปี โดยใช้สนามกีฬาของโรงเรียนในพื้นที่เป็นสนามแข่งขัน  มีสนามกีฬา/ลานกีฬา  3  แห่ง  ในเขตพื้นที่ หมู่ที่  14  หมู่ที่ 15  และหมู่ที่  16

        การศึกษา ประกอบด้วยส่วนตำบลควนมะพร้าว  แบ่งออกได้ดังนี้
        
-  ระดับมัธยมศึกษา จำนวน  2  แห่ง  ได้แก่   โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม  และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง
        
-  ระดับวิทยาลัย  จำนวน  2  แห่ง  ได้แก่   วิทยาลัยนาฏศิลป์พัทลุง  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
        -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง  คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน                                                                     -  ระดับประถมศึกษา จำนวน  3  โรง  ได้แก่  โรงเรียนวัดบ้านสวน   โรงเรียนวัดประดู่ทอง  และโรงเรียนบ้านควนกุฎ
        -   ศูนย์การเรียนชุมชน  จำนวน  1  แห่ง  อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่  15                                                                     -  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล  จำนวน 1 แห่ง

        สรุปได้ว่า  สภาพของชุมชนเป็นสังคมเกษตรกรรม   ดังนั้น อาชีพของผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม  บริเวณใกล้เคียงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุงเป็นที่ตั้งขององค์กรและหน่วยงานราชการหลาย หน่วยงาน  ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือ  และมีความสัมพันธ์กับวิทยาลัยด้วยดีเสมอมา  ซึ่งได้แก่  โรงเรียนบ้านควนกุฎ  สำนักงาน ขนส่งจังหวัดพัทลุง   กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 434   ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง   ศูนย์เกษตรวิศวกรรม   ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง   องค์การบริหารส่วนตำบลควนมะพร้าว   วิทยาลัยนาฏศิลป์พัทลุง  โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน   โรงเรียนวัดบ้านสวน   สำนักงานพัฒนาชนบทพัทลุง  โรงเรียนวัดบ้านแร่   วัดบ้านสวน   วัดควนแร่   และศูนย์บริการจักรกลเทศบาลเมืองพัทลุง