การประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ.2555
"การประกันคุณภาพการศึกษาไทย
ใต้ร่มพระบารมี"
 

10 - 11 พฤษภาคม 2555
 
ณ ศูนย์การจัดนิทรรศการและการประชุมไบเทค

       สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ
พ.ศ.2555  "การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี" ระหว่างวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์การจัดนิทรรศการ
และการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ   โดยมีนางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม
   
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุงมีบุคลากรเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา นายวิกรม พงศ์จันทรเสถียร
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา นางมาลี เพชรสุวรรณ
นางพรรณี ทองดีสุขและนางเบญจวรรณ ชูสิริ

ภาพกิจกรรมภายในงาน
   
นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร สมศ. กล่าวรายงาน นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธาน
เปิดการประชุมวิชาการ
   
กิจกรรมต่อหางตัว Q มอบของที่ระลึก
บรรยายหัวข้อ "คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน"
โดย ผอ. สมศ. ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
 
   
ลงนามความร่วมมือโครงการ ผอ. สมศ. ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์  
   


 

 

วันนี้ (10 พ.ค.) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์การจัดนิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ.2555 "การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี" ซึ่งจัดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.

นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร สมศ. กล่าวรายงานว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น จึงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้านโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ โดย สมศ.พร้อมให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในทุกรูปแบบแต่ต้องได้รับความร่วมมือ จากทุกฝ่ายทั้งบุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ และสถานศึกษา เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพของศิษย์ซึ่งเป็นเป้าหมายของการประเมิน

ในปี 2554 ที่ผ่านมา สมศ. ได้ริเริ่มนวัตกรรมการประเมินใน 3 รูปแบบ คือ ตัวบ่งชี้ 3 มิติ การประเมินแบบ 1 ช่วย 9 และการประเมินเชิงพื้นที่ (Area-based Assessment) ที่สะท้อนความเป็นคนดีในสังคมไทย โดยมีจิตอาสาช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบ "น้ำใจไทย" และทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เจาะทะลุความอ่อนด้อยเพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของการศึกษา

ด้านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในพิธีเปิดงานว่า การปฏิรูปการศึกษา เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ทุ่มเทจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาเป็นจำนวนมากที่สุด โดยหวังว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาไปสู่คุณภาพการศึกษาที่มีเป้าหมายสูงสุดคือ คุณภาพของผู้เรียน ซึ่งตรงกับภารกิจของ สมศ.ที่จะสะท้อนผลของการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ สอดคล้องกับแนวคิด "คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน" ดังนั้น จึงสมควรที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจว่าคุณภาพการจัดการศึกษา มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างไร และจะมีผลกระทบต่อประชาชนในแง่ใดบ้าง


จากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมา ตลอดจนการเตรียมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 อาจกล่าวได้ว่า แท้ที่จริงสาเหตุหนึ่งสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความสำเร็จคือการจัดการศึกษาและ คุณภาพการศึกษา เพราะหากการจัดการศึกษาสามารถนำเอาความรู้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็คงจะไม่ประสบปัญหาดังที่เป็นอยู่ หรือเราก็จะสามารถรับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากจะแก้ไขปัญหาในระยะยาวก็จำเป็นจะต้องพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและผ่า ตัดระบบการศึกษา ด้วยการปฏิรูปการศึกษาควบคู่กันไป

รัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาโดยเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษา ปฏิรูปครู จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอา เซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา รัฐบาลจะปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย โดยยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้นด้วยการวัดผลจากการทดสอบมาตรฐานใน ระดับชาติและนานาชาติ เป็นต้น

สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาถือเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง ของกระบวนการพัฒนา ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งมีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไร จะช่วยให้ผู้รับการประเมินมองเห็นทิศทางในการประเมินได้อย่างชัดเจน โดยมี สมศ.เป็นองค์กรที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาดังกล่าว และรัฐบาลสามารถนำผลประเมินที่ได้ไปกำหนดเป็นนโยบายในโอกาสต่อไป

จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มอบโล่ให้แก่ผู้มีคุณูปการยิ่งต่อ สมศ.จำนวน 15 คน อาทิ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร และนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ อดีตกรรมการบริหาร สมศ. ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช อดีตกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และนายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้น พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณงานด้วย
ทั้งนี้ การประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ. 2555 "การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี" มีกำหนดจัดงาน 2 วัน ในระหว่างวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์การจัดนิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย และรายงานคุณภาพการจัดการศึกษาต่อสาธารณชน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดพลังภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายในงานประกอบด้วย การบรรยายและอภิปรายทางวิชาการ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนิทรรศการต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ "การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี" นิทรรศการแสดงผลงานของ สมศ. และนิทรรศการแสดงกิจกรรมด้านอาชีพ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์